อารมณ์ "เฉิ่ม" อ่ะ
อารมณ์เซ็งๆ เลยนึกอยากดูหนัง ไปดูคนเดียวก็ได้ ไม่รอเพื่อนแร้ววว
วันนี้ได้มีโอกาสไปดูหนังเรื่องเฉิ่ม เอ่อ..เฉิ่มจริงๆ ด้วยเนอะ เพราะเขาออนแอร์มานานจนจะออกโรงแล้ว เพิ่งจะได้ไปดู
เงินมีอยู่ในกระเป๋าทั้งหมด 120 ยังกล้าก้าวเท้าออกจากบ้านไปดูหนัง...
โอ๊ย คนเรา
ทำไมใจกล้าเช่นนี้ ค่ารถเมลสาย 146 ตอนไป 5 บาท ดูหนังอีก 100 ขากลับเหลืออีก 10 บาท ...
ชีวิตหนอ .......ถ้าเหยียบถังกะปิใครเขาแตกคงไม่ได้กลับบ้าน 5555
……………………………………………
ไม่ได้รู้สึกเสียดายเงิน 100 บาทกะหนังเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหนังดีนะ ที่บอกว่าไม่รู้สึกเสียดายเงินเพราะวันนี้ ตั้งใจจะออกไปนั่งเฉยๆ แล้วปล่อยอารมณ์กับหนังเรื่องอะไรก็ได้สักเรื่องหนึ่งพอแล้ว (เป็นอารมณ์ดูหนังแบบหนึ่ง ) ซึ่งหากพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของก้อยแล้ว ..ใช่ มันตอบโจทย์ได้บรรลุผล ; )
หนังเรื่องนี้เปิดฉากได้ดี
1. กล้องเริ่มด้วยมุมมองของแท็กซี่คนหนึ่ง ชื่อ สมบัติ ดีพร้อม ( หรือ พี่บัติ หรือ..หม่ำ จ๊กมกน่ะแหละ ) มีอุปนิสัยและตัวตนที่ผู้สร้าง พยายามทำให้เป็นตัวแทนของคนขับแท็กซี่ที่มาจากต่างจังหวัดทั่วไป คือ ชอบฟังวิทยุ AM เพลงเก่าๆ รายการละครวิทยุ ( แต่จะขัดกับความเป็นจริงในความเห็นของเรา ตรงที่ AM แต่ดันชอบสุนทราภรณ์ แทนที่จะชอบลูกทุ่งหมอลำ และมันขัดกับ character ของตัวเอกเรื่องด้วย เพราะเราอาจติดภาพเดิม คือ ความเป็นคนอีสานของหม่ำ มากกว่า ) สมบัติทำงานหาเช้ากินค่ำ เช่าบ้านอยู่แฟลต ฝากท้องไว้กับร้านข้าวต้มเลือดหมูเจ้าประจำไม่เคยเปลี่ยน
1.1 ฉากแรกที่คิดว่าขัดในเรื่องของมุมกล้อง ก็คือ เปิดด้วยมุมมองของแท็กซี่ ที่เราคิดว่าผู้สร้างพยามจะเสนอให้เรารู้สึกถึงกิจวัตรประจำวันที่แท็กซี่ต้องเจอ กล้องแพนตามสายตาของคนขับรถ แต่หากพิจารณาดูดีๆ จะพบว่า ตำแหน่งของกล้องมันอยู่ที่ข้างคนขับอ่ะ เลยดูไม่สมจริง เหมือนกับกล้องนี้จะทำหน้าที่ผู้โดยสารที่นั่งข้างคนขับเสียมากกว่า เพราะว่าเราจะเห็นไฟแดงๆ ที่เขียนว่า ( ว่าง ) และใบอนุญาตขับรถของแท็กซี่อยู่ตรงกลางมากกว่าทางซ้าย เราว่าเขาไม่ละเอียดตรงนี้นะ และบังเอิญฉากนี้มัน loop เยอะด้วยวนไปวนมาช่วงแรกจนทำให้รู้สึกได้ไม่ยากเลย
2.นำเสนอนางเอกของเรื่อง คือ นวล ( นุ่น วรนุช ) ในมุมมองที่มีความคล้ายกันกับพระเอก แง่มุมของการประกอบอาชีพกลางคืน ชีวิตของผู้หญิงกลางคืนที่ต้องคอยให้บริการ ส่งเงินให้ทางบ้านโดยเอาตัวเข้าแลก ภายในเรื่องแสดงให้เห็นถึงความลำบากซ้ำซากบนหน้าที่ที่ตัวเอกทั้ง 2 ได้เผชิญ คือ คนขับแท็กซี่ที่ต้องคอยรองรับอารมณ์ผู้โดยสาร การทำความสะอาดรถ ผู้หญิงกลางคืนที่ต้องเป็นที่รองรับอารมณ์ของแขกทุกประเภท และสิ่งที่คล้ายกันอีกอย่าง คือ การต้องพา “ ลูกค้า ” ของทั้งคู่ไปสู่จุดหมายแต่ไม่รู้ว่าจุดหมายของตนเองอยู่ที่ใด....
3.เรื่องความเป็นตัวตนของตัวเอกในเรื่อง หากพิจารณาจากสปอต โฆษณา โปสเตอร์ที่เห็นแล้วจะพบว่า ทางการตลาดเน้นการนำที่ conflict ตัวตนของตัวแสดงหลัก คือ หม่ำ ความเป็นตลก กับนุ่น ความเป็นนางเอก
จะพบข้อความ “ หม่ำจะรักนุ่นจนคุณน้ำตาซึม ” ถูกใช้ในการประชาสัมพันธ์ เพราะสังเกตุจะเห็นได้ว่าเลือกที่จะเสนอชื่อจริง แต่ในขณะเดียวกันในภาพยนตร์จะใช้อีกชื่อหนึ่ง มีความรู้สึกว่าทีมงานควรมีจุดยืนในการนำเสนอที่ชัดเจนกว่านี้ เพราะหากตั้งใจนำเสนอความเป็นตัวตนที่ค้านกันของตัวเอกแล้ว ในหนังก็ควรจะนำเสนอคาแรคเตอร์ของตัวจริงที่เราเห็นออกไป กล่าวคือ ควรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
แต่จะพบว่าในหนัง สมบัติ กับ นวล ซึ่งมีคาแรคเตอร์แตกต่างจากตัวจริงที่สังคมรับรู้ โดยเฉพาะสมบัติ คือ สมบัติเหนียมอาย สุภาพ ส่วนนวลเป็นหญิงมั่น แต่ภายในเรื่องก็นำเสนอได้ไม่สุดอยู่ดี ที่ตัวสมบัติบางครั้งพยายามตลกสไตล์มุขหม่ำ แต่ให้ตัวเป็นสมบัติ จะขำก็ไม่สุด จะสุภาพขี้อายน่ารักก็ไม่สุด เลยดูคลอนแคลนในประเด็นของคาแรคเตอร์ที่ไม่สุดไปสักทาง...
4. เนื้อเรื่องมีการคั่นด้วยละครวิทยุ หรือละครสไตล์ Soap Opera ยุค 70 ใช้ในการดำเนินเรื่องจนเฟ้อ ฉากแสดงความรู้สึกนึกคิด ฉากไคลแม็กซ์ของเรื่องแทบจะ “ เนียน ” และแยกไม่ออกเพราะถูกคั่นอย่างอู้ฟู่ในเรื่องนี้... เมื่อดูแล้วเกิดความรู้สึกติดตามก็จะมีละครมาคั่นจนทำให้เสียอรรถรสไปมาก เข้าใจว่าผู้สร้าง อาจอยากสื่อให้เห็นถึงความคิดการเปรียบเทียบตนเองของคนกลุ่มนี้ ที่มักจะนึกถึงบทละครว่าตนเองเป็นพระเอก นางเอกเมื่อเจอปัญหา อุปสรรคใดๆ ในชีวิตจริง
5.เพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่อง ใช้เพลงสุนทราภรณ์ ในการสื่อความรู้สึกของตัวเอกและฉากสำคัญของเรื่อง แต่ก็เกิดความรู้สึก “ เฟ้อ” เช่นกัน เพลงบางเพลง เช่น ปองใจรัก ถูกใช้จนเฟ้อ ทั้งที่ควรนำวรรคทอง ( พี่คอย น้องคอย ต่างคนต่างคอย แต่บุญเราน้อยหนักหนา คอยเจ้า เจ้าไม่มา ... ) มาเข้ากับฉากสำคัญของเรื่อง คือ ฉากที่พระเอกและนางเอกต่างรอคอยกัน โผล่ฉากนั้นจะโดน “ ปึ้ง ” กว่า และเพลงบางเพลงยังใช้ได้ไม่ “โดน” กับฉากที่ควรจะใช้ เช่น เพลงหนึ่งน้องนางเดียว ( ยลพักตร์เชยพิศ น่าเชยชิดชม แม้ได้สมดังใจนึกปอง พี่คอยประคอง ...) แต่เพลงที่คิดว่าใช้แล้ว “ได้ใจ” ในเรื่องมากๆ ก็มี เช่น ฉากที่สมบัติถูกโจรจี้เงินและทำร้ายร่างกาย ใช้เพลง บรรเลงท่อนที่ว่า “ โอ้ กรุงเทพเมืองฟ้าอมร .. สมเป็นนครมหาธานี ...”
6. แฮนบิล และของแถมที่แจกมา คือ ตุ้กตากระดาษรูปรถ และโบตัน ในเรื่องจะพบการโฆษณา( แฝงแบบโคตรจงใจ ) คือ พระเอกกินโบตันโชวตลอด นางเอกตอนช่วงหลังก็กิน ( หนังมันทำได้ไม่เนียนเลยอ่ะ ) .... และรถแท็กซี่คันเดิม ในฉากท้ายๆ ที่สื่อให้เห็นว่าสมบัติได้กลับออกมาจากคุก มาพบกับรถที่ตนเคยขับ กล้อง close up ไปที่ กท.รถยนตร์ คือ ทน 2514 มองเห็นสติ้กเกอท้ายรถเดิมๆ เหมือนเรื่องพยามจะเน้นให้ระลึกถึงเหตการณ์เก่าๆ ได้ คิดว่า รายละเอียดเช่นนี้เป็นจุดสำคัญของเรื่องพอสมควร... แต่แฮนบิลและของแถมที่ได้มา เป็นรถแท็กซี่ กท . ทน 6131 ทำให้ “พลาด” ไปมาก
7. การดำเนินเรื่องที่มีการตัดไปหาบทละครเก่าเสียเยอะ สลับกับเพลงเก่าจนเฟ้อ ทำให้ติดตามแล้วอารมณ์หลุด / โดดไปมาก ประกอบกับฉากเพ้อฝัน “ innovated อาเอื้อ ” ทำคนดูในโรง งงไปตามๆ กัน ( ไม่รู้ว่ามีทำไม)
และสาระที่จะแทรกในเรื่องย้ำๆ ก็ คือ " การเป็นคนดีที่จะต้องดีตลอดไปไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ทำให้คิดทำชั่วได้เพียงใด" เหมือนผู้กำกับพยายามจะยัดเยียดให้คนดูว่า เออ ต้องรู้นะๆ แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ คือ คนดูคิดเองได้
สุดท้าย ( เท่าที่คิดออกตอนนี้ ) อดนึกถึงหนังเรื่อง Serendipity ไม่ได้ เพราะเนื้อเรื่องทั้งหมดเสนอถึงการพบเจอ / พลัดพราก / และกลับมาเจออีกครั้งหนึ่งโดยบังเอิญ ไม่มีแง่คิดเจ๋งๆ อะไรซ่อนอยู่เท่าไรนัก ( อาจคิดได้ว่า จะเอาไรมากมายกะหนังที่ตั้งใจจะให้ตลกแบบนี้เนอะ) ตอนจบของเรื่องเหมือนตั้งใจขมวดให้จบ โดยเร็วด้วย
วันนี้ได้มีโอกาสไปดูหนังเรื่องเฉิ่ม เอ่อ..เฉิ่มจริงๆ ด้วยเนอะ เพราะเขาออนแอร์มานานจนจะออกโรงแล้ว เพิ่งจะได้ไปดู
เงินมีอยู่ในกระเป๋าทั้งหมด 120 ยังกล้าก้าวเท้าออกจากบ้านไปดูหนัง...
โอ๊ย คนเรา
ทำไมใจกล้าเช่นนี้ ค่ารถเมลสาย 146 ตอนไป 5 บาท ดูหนังอีก 100 ขากลับเหลืออีก 10 บาท ...
ชีวิตหนอ .......ถ้าเหยียบถังกะปิใครเขาแตกคงไม่ได้กลับบ้าน 5555
……………………………………………
ไม่ได้รู้สึกเสียดายเงิน 100 บาทกะหนังเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหนังดีนะ ที่บอกว่าไม่รู้สึกเสียดายเงินเพราะวันนี้ ตั้งใจจะออกไปนั่งเฉยๆ แล้วปล่อยอารมณ์กับหนังเรื่องอะไรก็ได้สักเรื่องหนึ่งพอแล้ว (เป็นอารมณ์ดูหนังแบบหนึ่ง ) ซึ่งหากพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของก้อยแล้ว ..ใช่ มันตอบโจทย์ได้บรรลุผล ; )
หนังเรื่องนี้เปิดฉากได้ดี
1. กล้องเริ่มด้วยมุมมองของแท็กซี่คนหนึ่ง ชื่อ สมบัติ ดีพร้อม ( หรือ พี่บัติ หรือ..หม่ำ จ๊กมกน่ะแหละ ) มีอุปนิสัยและตัวตนที่ผู้สร้าง พยายามทำให้เป็นตัวแทนของคนขับแท็กซี่ที่มาจากต่างจังหวัดทั่วไป คือ ชอบฟังวิทยุ AM เพลงเก่าๆ รายการละครวิทยุ ( แต่จะขัดกับความเป็นจริงในความเห็นของเรา ตรงที่ AM แต่ดันชอบสุนทราภรณ์ แทนที่จะชอบลูกทุ่งหมอลำ และมันขัดกับ character ของตัวเอกเรื่องด้วย เพราะเราอาจติดภาพเดิม คือ ความเป็นคนอีสานของหม่ำ มากกว่า ) สมบัติทำงานหาเช้ากินค่ำ เช่าบ้านอยู่แฟลต ฝากท้องไว้กับร้านข้าวต้มเลือดหมูเจ้าประจำไม่เคยเปลี่ยน
1.1 ฉากแรกที่คิดว่าขัดในเรื่องของมุมกล้อง ก็คือ เปิดด้วยมุมมองของแท็กซี่ ที่เราคิดว่าผู้สร้างพยามจะเสนอให้เรารู้สึกถึงกิจวัตรประจำวันที่แท็กซี่ต้องเจอ กล้องแพนตามสายตาของคนขับรถ แต่หากพิจารณาดูดีๆ จะพบว่า ตำแหน่งของกล้องมันอยู่ที่ข้างคนขับอ่ะ เลยดูไม่สมจริง เหมือนกับกล้องนี้จะทำหน้าที่ผู้โดยสารที่นั่งข้างคนขับเสียมากกว่า เพราะว่าเราจะเห็นไฟแดงๆ ที่เขียนว่า ( ว่าง ) และใบอนุญาตขับรถของแท็กซี่อยู่ตรงกลางมากกว่าทางซ้าย เราว่าเขาไม่ละเอียดตรงนี้นะ และบังเอิญฉากนี้มัน loop เยอะด้วยวนไปวนมาช่วงแรกจนทำให้รู้สึกได้ไม่ยากเลย
2.นำเสนอนางเอกของเรื่อง คือ นวล ( นุ่น วรนุช ) ในมุมมองที่มีความคล้ายกันกับพระเอก แง่มุมของการประกอบอาชีพกลางคืน ชีวิตของผู้หญิงกลางคืนที่ต้องคอยให้บริการ ส่งเงินให้ทางบ้านโดยเอาตัวเข้าแลก ภายในเรื่องแสดงให้เห็นถึงความลำบากซ้ำซากบนหน้าที่ที่ตัวเอกทั้ง 2 ได้เผชิญ คือ คนขับแท็กซี่ที่ต้องคอยรองรับอารมณ์ผู้โดยสาร การทำความสะอาดรถ ผู้หญิงกลางคืนที่ต้องเป็นที่รองรับอารมณ์ของแขกทุกประเภท และสิ่งที่คล้ายกันอีกอย่าง คือ การต้องพา “ ลูกค้า ” ของทั้งคู่ไปสู่จุดหมายแต่ไม่รู้ว่าจุดหมายของตนเองอยู่ที่ใด....
3.เรื่องความเป็นตัวตนของตัวเอกในเรื่อง หากพิจารณาจากสปอต โฆษณา โปสเตอร์ที่เห็นแล้วจะพบว่า ทางการตลาดเน้นการนำที่ conflict ตัวตนของตัวแสดงหลัก คือ หม่ำ ความเป็นตลก กับนุ่น ความเป็นนางเอก
จะพบข้อความ “ หม่ำจะรักนุ่นจนคุณน้ำตาซึม ” ถูกใช้ในการประชาสัมพันธ์ เพราะสังเกตุจะเห็นได้ว่าเลือกที่จะเสนอชื่อจริง แต่ในขณะเดียวกันในภาพยนตร์จะใช้อีกชื่อหนึ่ง มีความรู้สึกว่าทีมงานควรมีจุดยืนในการนำเสนอที่ชัดเจนกว่านี้ เพราะหากตั้งใจนำเสนอความเป็นตัวตนที่ค้านกันของตัวเอกแล้ว ในหนังก็ควรจะนำเสนอคาแรคเตอร์ของตัวจริงที่เราเห็นออกไป กล่าวคือ ควรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
แต่จะพบว่าในหนัง สมบัติ กับ นวล ซึ่งมีคาแรคเตอร์แตกต่างจากตัวจริงที่สังคมรับรู้ โดยเฉพาะสมบัติ คือ สมบัติเหนียมอาย สุภาพ ส่วนนวลเป็นหญิงมั่น แต่ภายในเรื่องก็นำเสนอได้ไม่สุดอยู่ดี ที่ตัวสมบัติบางครั้งพยายามตลกสไตล์มุขหม่ำ แต่ให้ตัวเป็นสมบัติ จะขำก็ไม่สุด จะสุภาพขี้อายน่ารักก็ไม่สุด เลยดูคลอนแคลนในประเด็นของคาแรคเตอร์ที่ไม่สุดไปสักทาง...
4. เนื้อเรื่องมีการคั่นด้วยละครวิทยุ หรือละครสไตล์ Soap Opera ยุค 70 ใช้ในการดำเนินเรื่องจนเฟ้อ ฉากแสดงความรู้สึกนึกคิด ฉากไคลแม็กซ์ของเรื่องแทบจะ “ เนียน ” และแยกไม่ออกเพราะถูกคั่นอย่างอู้ฟู่ในเรื่องนี้... เมื่อดูแล้วเกิดความรู้สึกติดตามก็จะมีละครมาคั่นจนทำให้เสียอรรถรสไปมาก เข้าใจว่าผู้สร้าง อาจอยากสื่อให้เห็นถึงความคิดการเปรียบเทียบตนเองของคนกลุ่มนี้ ที่มักจะนึกถึงบทละครว่าตนเองเป็นพระเอก นางเอกเมื่อเจอปัญหา อุปสรรคใดๆ ในชีวิตจริง
5.เพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่อง ใช้เพลงสุนทราภรณ์ ในการสื่อความรู้สึกของตัวเอกและฉากสำคัญของเรื่อง แต่ก็เกิดความรู้สึก “ เฟ้อ” เช่นกัน เพลงบางเพลง เช่น ปองใจรัก ถูกใช้จนเฟ้อ ทั้งที่ควรนำวรรคทอง ( พี่คอย น้องคอย ต่างคนต่างคอย แต่บุญเราน้อยหนักหนา คอยเจ้า เจ้าไม่มา ... ) มาเข้ากับฉากสำคัญของเรื่อง คือ ฉากที่พระเอกและนางเอกต่างรอคอยกัน โผล่ฉากนั้นจะโดน “ ปึ้ง ” กว่า และเพลงบางเพลงยังใช้ได้ไม่ “โดน” กับฉากที่ควรจะใช้ เช่น เพลงหนึ่งน้องนางเดียว ( ยลพักตร์เชยพิศ น่าเชยชิดชม แม้ได้สมดังใจนึกปอง พี่คอยประคอง ...) แต่เพลงที่คิดว่าใช้แล้ว “ได้ใจ” ในเรื่องมากๆ ก็มี เช่น ฉากที่สมบัติถูกโจรจี้เงินและทำร้ายร่างกาย ใช้เพลง บรรเลงท่อนที่ว่า “ โอ้ กรุงเทพเมืองฟ้าอมร .. สมเป็นนครมหาธานี ...”
6. แฮนบิล และของแถมที่แจกมา คือ ตุ้กตากระดาษรูปรถ และโบตัน ในเรื่องจะพบการโฆษณา( แฝงแบบโคตรจงใจ ) คือ พระเอกกินโบตันโชวตลอด นางเอกตอนช่วงหลังก็กิน ( หนังมันทำได้ไม่เนียนเลยอ่ะ ) .... และรถแท็กซี่คันเดิม ในฉากท้ายๆ ที่สื่อให้เห็นว่าสมบัติได้กลับออกมาจากคุก มาพบกับรถที่ตนเคยขับ กล้อง close up ไปที่ กท.รถยนตร์ คือ ทน 2514 มองเห็นสติ้กเกอท้ายรถเดิมๆ เหมือนเรื่องพยามจะเน้นให้ระลึกถึงเหตการณ์เก่าๆ ได้ คิดว่า รายละเอียดเช่นนี้เป็นจุดสำคัญของเรื่องพอสมควร... แต่แฮนบิลและของแถมที่ได้มา เป็นรถแท็กซี่ กท . ทน 6131 ทำให้ “พลาด” ไปมาก
7. การดำเนินเรื่องที่มีการตัดไปหาบทละครเก่าเสียเยอะ สลับกับเพลงเก่าจนเฟ้อ ทำให้ติดตามแล้วอารมณ์หลุด / โดดไปมาก ประกอบกับฉากเพ้อฝัน “ innovated อาเอื้อ ” ทำคนดูในโรง งงไปตามๆ กัน ( ไม่รู้ว่ามีทำไม)
และสาระที่จะแทรกในเรื่องย้ำๆ ก็ คือ " การเป็นคนดีที่จะต้องดีตลอดไปไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ทำให้คิดทำชั่วได้เพียงใด" เหมือนผู้กำกับพยายามจะยัดเยียดให้คนดูว่า เออ ต้องรู้นะๆ แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ คือ คนดูคิดเองได้
สุดท้าย ( เท่าที่คิดออกตอนนี้ ) อดนึกถึงหนังเรื่อง Serendipity ไม่ได้ เพราะเนื้อเรื่องทั้งหมดเสนอถึงการพบเจอ / พลัดพราก / และกลับมาเจออีกครั้งหนึ่งโดยบังเอิญ ไม่มีแง่คิดเจ๋งๆ อะไรซ่อนอยู่เท่าไรนัก ( อาจคิดได้ว่า จะเอาไรมากมายกะหนังที่ตั้งใจจะให้ตลกแบบนี้เนอะ) ตอนจบของเรื่องเหมือนตั้งใจขมวดให้จบ โดยเร็วด้วย