*STYLE TYPE="text/css"> p {align=justify} BODY{cursor: url(http://ourworld.cs.com/dollielove6/uc4.cur);} a {cursor: url(http://ourworld.cs.com/dollielove6/uc4.cur);} */STYLE> Bakery Idea From me :): พฤษภาคม 2006

Bakery Idea From me :)

วันพุธ, พฤษภาคม 10, 2549

ซี่รี่ย์เกาหลี





เคยรู้สึกว่าตัวเองติดนิสัยเคยชินกับการเปิดทีวีช่องไหนเป็นพิเศษไหม?
เราเองเป็นคนหนึ่งที่ชินกับการกดรีโมทช่อง 3 มาก
เอะอะอะไร เอาช่อง 3 ไว้ก่อน

และ ...นี่แหละที่เป็นสาเหตุให้เราติดละครของช่องสามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้... โดยเฉพาะเรื่องแดจังกึม แม้จะถูกนำมาฉายเป็นรอบที่สองแล้วก็ตาม

ครั้งหนึ่งเคยเป็นคำถามที่เรารุ้สึก “ ทำไมมันโปรโมทเว่อร์จัง” และเคยรู้สึกต่อต้านกับ T-SER “ผู้หญิงที่ใช้ลิ้นจนได้ดี” แบบนี้ด้วย
เพราะจ้องแต่จะใช้คำสองแง่สองง่ามให้เกิด ความกระหายใคร่รู้ของผู้ชม โดยอาจลืมคิดไปว่าเป็นการทำลายคุณค่าความเป็น แดจังกึม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มนักบริโภคละครเกาหลี หรือแม้แต่ “ขาจร” อย่างเราก็ตาม คิดว่าคงมีอารมณ์ขุ่นมัวไม่น้อย หากนึกย้อนไปถึงคราวที่ช่อง 3 ออก t-ser ตัวนี้มา ( ได้ยังไง)
แต่ก็นับว่า สำเร็จ….
นอกจากกลุ่มสาวกซีรี่เกาหลีแล้ว ละครเรื่องนี้ ยังดึงขาจรมาได้อีกนับไม่ถ้วน สำหรับเราเองแล้ว แดจังกึม เป็นการเบิกฤกษ์ให้เราเปิดใจรับซี่รี่ย์เกาหลีเรื่องอื่นๆ ได้อย่างงดงาม

การผสานกิจกรรมให้ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมและเข้าถึงละครแบบงอมแงมเป็นความชาญฉลาดของช่อง 3 ที่เชือดวิก 7 มาได้ชนิด เจ๊แดงเต้นเร่าๆ เพราะ reach เรทติ้งตกฮวบ หลังจากที่เคยหัวเราะเยาะในความพยามจะแซงของช่อง 3 มานานหลายปี


ที่จะเห็นได้ชัดตั้งแต่การทำการตลาดละครเรื่อง “ เสื้อสีฝุ่น” / “ สะใภ้ศักดินา” ที่เริ่มมีปรากฏการณ์ ทัวร์คอนเสิร์ตแบบเป็นล่ำเป็นสันที่ เซนทรัล พระราม 2 เรื่อยมา คิดเอาเองว่า เจ๊แดงเองคงขนจักกะแร้กะดิดตะหงิด ๆ ตั้งแต่



เพลงโด๊ เหล่ หมี่ ...ๆ อาลาวาดทั่วประเทศแล้วล่ะ



หลังจากแดจังกึมฟีเว่อร์ เจ๊แดงได้ตระหนักแล้วสมควรเอา แคนลำโขง ฝั่งพื้นบ้านมาสู้กะช่อง 3 มั่ง โดยหันมายอมจัดมหกรรมย่านพระราม 2 เช่นกัน ( ตามชัดๆ )

เป็นอันสมควรสรุปได้ว่า งานนี้ ช่อง 3 สำเร็จแล้ว
และช่อง3 คงอยากทนุถนอม brand royalty ไว้
จึงได้นำ “ฝากรักไว้ที่ปลายฟ้า” มาจ่อลงจออย่างรวดเร็ว แต่ที่เราไม่ชอบเป็นการส่วนตัวก็คือ มันโปรโมทเว่อร์..อีกละ ตั้งแต่ก่อน แดจังกึม จะจบประมาณหนึ่งเดือน ก็มีการลงโฆษณาตัวนี้ถี่จนน่ารำคาญ ไม่ว่าจะเป็นช่วงพักคั่นละคร ช่วงข่าวบันเทิง หรือการให้รายการยอดฮิตประจำวิกพระรามสี่ เช่น ผู้หญิงถึงผู้หญิง “ ย้ำคำย้ำพูด” จนเราเอียน ก่อนละครมาตั้งนาน หรือแม้แต่การขึ้นตัวอักษรตัวโตๆ เอาให้เห็นให้ได้ ในระดับที่ผิดปกติ เมื่อเทียบกับ การขึ้นตัววิ่งในเรื่องอื่นๆ ( และตำแหน่งก็โผล่มาวิ่งสูงกว่าปกติเยอะด้วยพิเคราะห์จากหน้าจอ ขึ้นสูงมาเป็นนิ้ว ..เชื่อมะ )

แต่เขาก็ทำสำเร็จ ( อีกแล้ว) ด้วยการพยาม “ ดัน กระทืบ ยัน ฯลฯ" แล้วแต่จะเรียกละกัน ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ บันไดสวรรค์ ที่จะต้องนั่งดูละครครบทุกตอนเท่านั้น จึงตอบได้ และค่อยรอส่งชิงโชคอีกรอบหนึ่ง เป็นการ keep ลูกค้าอย่างดีเลยจริงๆ ของรางวัลก็ไม่ได้มากมาย เป็นเพียงสร้อยที่เหมือนกับตัวแสดงนำในเรื่องสวมใส่เท่านั้น

แต่สำหรับในมุมมองของเรา... ละครเรื่องนี้มันเน่ายิ่งกว่าบ้านทรายทอง เศร้าเว่อร์ ร้ายเว่อร์ นางเอกแสนดีเว่อร์ ลักษณะเนื้อเรื่องการวางโครงพื้นๆ มาก ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนอะไรเลย ฉากที่ในการดำเนินเรื่องส่วนใหญ่หมดไปกับพระนาง ที่ตามหากันไปมา แล้วคลาดกันเพียงพระเอกหันหน้าไปทางซ้าย นางเอกเดินผ่านทางขวา นางเอกคิดว่าตัวเองไม่ดี หลีกหนีไป พระเอกตามง้อ นางอิจฉาแสนเลวกลั่นแกล้ง แม่เลี้ยงใจร้าย.... เฮ้ยยย มันละครบ้านเราดีๆ นี่เอง ไม่เห็นต้องซื้อมาฉายเลย...

ที่รู้สึกแย่กว่านั้น คือ การแสดงของตัวละครที่โอเว่อร์มากจนเหมือนละครเวที....
แม้จะพยามดัน และแม้จะประสบความสำเร็จซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นไปตามการผลักของตลาดโฆษณาธรรมดาๆ ดีๆ นี่เองก็ตาม แต่เราคิดว่าวิกพระรามสี่ คงตระหนักในจุดนี้ดี จึงคิดกลยุทธ รักษาอารมณ์และผู้ชมไว้ด้วยการเอา “ หมอโฮจุน “ มาเสียบ ซึ่งได้เลือกให้มีลักษณะของ แดจัง กึม แทบไม่มีผิดเพี๊ยน และสอดคล้องกับความต้องการของคนดูที่เรียกร้องให้นำแดจังกึมมาฉายใหม่ จึงได้นำแดจังกึมมาลงในช่วงเย็น จ- ศ เป็นรอบสอง เพื่อเรียกน้ำย่อย ก่อนนำ หมอโฮจุนเข้ามา โดยไม่สะดุดอารมณ์เพราะเจอฝากรักไว้ที่ปลายฟ้า มาคั่น โดยอาจเห็นได้จากโฆษณาที่นำภาพแด จังกึมมาซ้อนแล้วพากย์เสียงเข้าไปว่า "จังกึม เจ้าจะไปไหนน่ะ / ข้าจะไปดูหมอโฮจุน"


สำหรับลักษณะของ หมอโฮจุน จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึง
ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ
1. period
2./การเล่าเรื่องแบบชูประเด็นความเด่นไปที่ตัวบุคคลในเรื่อง คือ หมอโฮจุน
3.ทีมสร้างชุดเดียวกัน ผู้กำกับเดียวกัน นักแสดงหลายตัวในเรื่องเป้นชุดเดียวกับจังกึม
4.ถูกอ้างว่า บุคคลในเรื่องมีตัวตนจริง
5.แดจังกึม เป็นหมอฝังเข็มแต่ หมอโฮจุน เป็นหมอแมะ (เพื่อนที่ดูแล้ว บอกมาอีกที ประมาณว่า หมอจับเส้น)หมอคนนี้น่าจะมีชื่อเสียงมากกว่า จังกึม เพราะมีบันทึกประวัติ แถมภาพ รวมถึงรูปปั้นด้วย แดจังกึมมีตัวตนอยู่จริง ช่วงประมาณ สมเด็จพระรามาธิบดีที่2 ของไทย เกิดในรัชสมัย เยซังคุง ผู้วิปลาศ (1494-1506) จนถึงพระเจ้าจุงจง (1506-1544) จนถึงพระเจ้าอินจง (1544-1545) จนถึงพระเจ้าเมียงจง (1545-1567) แห่งราชวงศ์โชซอนหมอโฮจุน น่าจะเป็นรุ่นลูกจังกึมนะ เพราะมีชีวิตในช่วง พระเจ้าเมียงจงโอรสพระเจ้าจุงจง จนถึงพระเจ้าเซนโจ (1567-1608) และสิ้นชีพในสมัย กวางแฮกัน (1608-1623)

6.คาดว่านางเอก ในหมอโฮจุน คงไม่เด่น เช่นเดียวกับ แด จังกึม ที่ พระเอก ไม่เด่น

ฯลฯ
ดังที่เราเองเคยเขียนไว้เล่นๆ ในจูริสคลับ เกี่ยวกับละครแดจึงกึม ( เอามาลงให้อ่านกันในนี้เลยละกัน)



ดังนี้


เรื่องย่อ เมื่อ 500 ปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาสมัยของราชวงศ์ Chosun ประเทศเกาหลียังคงปกครองด้วยระบบกฎเกณฑ์ที่ผู้ชายเท่านั้น จึงจะสามารถมีอำนาจเป็นใหญ่กว่าผู้หญิงได้ Dae Jang Geum - Jewel in the Palace สร้างมาจากเรื่องจริงของหญิงสาวผู้เป็นตำนานนามว่า Jang Geum ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกของเกาหลีที่เป็นแพทย์คอยรักษาอาการเจ็บป่วย ให้กับเชื้อพระวงศ์ในพระราชสำนัก เธอเป็นเด็กที่เกิดจากครอบครัวสามัญชนที่มีฐานะยากจน Jang Geum สูญเสียพ่อและแม่ไปตั้งแต่เธอยังเด็ก ด้วยเหตุผลทางการเมืองในสมัยนั้น คือ การลอบปลงพระชนม์คนสำคัญในพระราชวัง แม่ของเธอ ( ปาร์ค เมียง ยอ) กลับล้วงรู้ความลับนี้ จึงเป็นที่มาให้ถูกตามล่าเอาชีวิตเพื่อหวังปิดปาก โดยนางกำนัลตระกูลแช ( แชซังกุงในเวลาต่อมา) เมื่อแม่ของเธอรอดตายเพราะความช่วยเหลือจากเพื่อนรัก ( ฮันซังกุงในเวลาต่อมา) และนายทหารคนหนึ่ง ( พ่อของแดจังกึมนั่นเอง) ครอบครัวของเด็กหญิงจังกึมอยู่กันอย่างมีความสุขในหมู่บ้านแห่งหนึงตลอดมา จนวันหนึ่งได้ถูกตามล่าอีกครั้ง ครอบครัวของเธอแตกสลายคนละทิศทางอย่างน่าเวทนา ก่อนตายแม่ของจังกึมได้สั่งเสียให้จึงกึมเข้มแข็ง และใช้ความพยายามดำรงชีวิตอยู่ด้วยตนเองให้ได้ และให้หาหนทางกลับเข้าไปทำงานในวังเพื่อล้างมลทินให้แก่ตนเอง และครอบครัว และแล้ว ...โชคก็ยังเข้าข้างเธอเมื่อเธอได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้วิธีการปรุงอาหารในพระราชสำนัก ด้วยความที่เธอเป็นเด็กที่ฉลาดทำให้ จังกึม กลายเป็นแม่ครัวมือหนึ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากเชื้อพระวงศ์ และถูกใส่ร้ายจากเพื่อนจนทำให้ต้องระเห็จไปอยู่นอกเมือง มีความลำบากแสนสาหัส ภายหลัง จังกึม พยายามเรียนรู้วิธีปรุงยาจนทำให้เธอได้มีโอกาสกลับเข้าวังและมารักษาอาการเจ็บป่วยของพระราชา อย่างไรก็ตามเล่ห์กลของคนในราชวังและอำนาจทางการเมืองก็มักจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้ จังกึมต้องฝ่าฟันมันไปให้ อย่างไรก็ตาม จังกึม ก็พยายามใช้สติปัญญาที่ชาญฉลาดของเธอต่อกรกับศัตรูที่มีอยู่มากมายในราชสำนัก เพื่อทำให้มาตรฐานทางสังคมเกิดการเท่าเทียมกัน ซึ่งไม่มีผู้หญิงเกาหลีคนไหนเคยทำได้มาก่อนในประศาสตร์ของประเทศเกาหลี



แดจังกึม เป็นความมหัศจรรย์ทางอารมณ์ก็ว่าได้ เพราะเป็นละครที่ลงได้ในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะ ในขณะที่กระแสอารมณ์ของละครเรื่องอื่นๆ กำลังตีบตัน ช่อง 3 ก็นำ " น้ำชา" มาแก้เลี่ยนได้ดีเสียนี่กระไร คำว่าแก้เลี่ยนนี้ หมายถึงอะไร เราจะเห็นได้จากการนำเสนอเนื้อหาละครของแต่ละช่อง ที่เป็นไปในแนวใกล้เคียงกันคือ เรื่องความรัก ในธีมชิงรักหักสวาท นางเอกน่าสงสารและผลท้ายสุดจบลงด้วยความสุข ( Happy Ending ) หรือละครย้อนยุค ซึ่งมี เนื้อเรื่องแย่งชิงความเป็นจ้าวยุทธภพ อย่างมังกรหยก ความเป็นฮีโร่แบบไทยๆ เช่น ขวานฟ้าหน้าดำ หรือมุ่งแสดงถึงความเป็นมาประวัติศาสตร์อย่างสี่แผ่นดิน.... แต่ไม่มีละครเรื่องใดในช่วงนี้ที่เป็นแบบแดจังกึม ( ช่วงก่อนในยุค 70 จะมี โอชิน ละครดราม่าคล้ายแดจังกึม)_________________


แก้เลี่ยนอย่างไร สนุกอย่างไร มาดูกัน

1.แดจังกึมเป็นเรื่องย้อนยุคที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ชาติเกาหลี ซึ่งตามปกติที่ผ่านมาเราจะเห็นละครต่างชาติในแนวย้อนยุค ( period ) ไปในแนวอื่นดังที่กล่าวมาข้างต้น เช่น ศึกชิงยุทธภพ เรื่องราวเกี่ยวกับความรักของตัวเอกในละครเสียมากกว่า


2.เป็นการนำเสนอที่แปลก เมื่อเทียบกับความนิยมในเนื้อหาที่ผู้ชมมักชื่นชอบความเป็น “ ดารา” กล่าวคือ เลือกชมตามดารานำแสดงที่ตนเองชื่นชอบ / หรือ ความ “ดัง” ของบทประพันธ์ในอดีต เช่น บ้านทรายทอง ดาวพระศุกร์ แต่ปางก่อน ฯลฯ ด้วยเนื้อหาและความนิยมในอดีตก็สามารถการันตีความสนุก และดึงดูดให้ผู้ชมให้ความสนใจได้ไม่ยาก แต่ แดจังกึม เป็นละครที่นำเสนอโดยใช้จุดเด่นในตัวละครเอง จะเห็นได้จากการโฆษณาว่า “ หญิงที่ใช้ปากจนได้ดี ” ไม่ได้ใช้ดารา เพราะคนไทยส่วนใหญ่ก็มิได้รู้จัก ลียอง เอ ( นางเอกของเรื่อง) เป็นแน่ จะใช้ความดังของบทประพันธ์ก็คงมิได้มีคนไทยส่วนใหญ่รุ้จักอีกเช่นกัน ( หลังจากได้รับความนิยมสูงทางทีวี จึงเพิ่งตีพิมพ์เป็นหนังสือฉบับแปลภาษาไทยด้วยซ้ำ )


3.แดจังกึม เป็นละครที่ใช้ผู้หญิงเป็น “ ฮีโร่” เมื่อเทียบกับละครเรื่องอื่นๆ เราจะพบว่า ตัวเอกในการดำเนินเรื่องจะเป็น คู่ แม้หากพบตัวละครเอกเพศชาย ( พระเอก ) ในเรื่องแดจังกึมก็สามารถสังเกตได้ว่าจะมีบทบาทสูงขึ้นมาเพียงช่วงครึ่งหลังของละครเท่านั้น จุดเริ่มหรือจบของเนื้อหาละครไม่ได้แขวนไว้กับการกระทำ หรือการตัดสินใจของตัวละครเพศชายเลย

4.เป็นละครที่ชูประเด็น
4.1 การเมืองไว้ในตอนต้น และทำให้เป็นที่มาซึ่งความโศกเศร้า สะเทือนใจ และแรงจูงใจของตัวเอกในเรื่อง กล่าวคือ การที่แม่ของจังกึมถูกปองร้ายฆ่าปิดปากก็เพราะไปรู้เบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์ของพระพันปี การที่จังกึมต้องพบกับความยากลำบากต่อๆ มา ก็เพราะต่อต้านการแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางการเมือง การช่อราษฏร์บังหลวง และ
4.2 การใช้อาหารเป็นวัฒนธรรมหลัก ( สื่อ ) ในการนำเสนอและดำเนินบทเกือบตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันทำอาหาร การคัดตัวนางกำนัล การเลื่อนชั้นซังกุง ล้วนใช้อาหารเป็นการดำเนินเรื่องทั้งนั้น แต่ก็
4.3 กลับมาจบด้วยแนวความคิดทางสังคมสมัยนั้นได้อย่างลงตัว คือ ความคิดของคนที่มองว่าผู้หญิงห้ามเลื่อนชั้น ห้ามรับราชการ ห้ามเป็นหมอเป็นได้แค่นางพยาบาล ห้ามคิดอะไรใหม่ๆ เพราจะไม่มีคนเชื่อถือความคิดริเริ่มนั้น ( ตอนที่จังกึมพบวิธีฝังเข็มให้ตัวชาเพื่อผ่าตัดได้ ) ตัวละครจังกึมก็สามารถพิสูจน์ ฝ่าฟันให้เห็นได้ว่า ผู้หญิงก็มีความสามารถเท่าเทียมชาย ( ละครเรื่องนี้ feminism พอสมควร )



5.มีความรู้ที่แฝงเข้ามาในเนื้อเรื่องมาก เช่น ประวัติศาสตร์เกาหลี พิธีการรับคนเข้าวังหลวง การคัดสรรค์เนื้อ ผัก ในการทำอาหาร การรักษาโรค เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของละครเรื่องนี้เลยทีเดียว ประกอบกับทั้งทีมงานก็เล็งเห็นความจำเป็น ความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมที่คนต่างชาติอาจไม่เข้าใจ ( ละครเขามองการณ์ไกลดีเนอะ ทำให้คนดูรู้เรื่อง ขายได้ทั่วโลก เป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ดี ) ด้วยการมีพิธีกรแนะนำความรู้และธีมของละครในตอนนั้นๆ ได้ เป็นการโปรยเข้าละครก่อนดู ซึ่งเราจะไม่ได้เห็นลักาณะนี้ในละครเรื่องใด และขณะนี้ เกาหลี เป็นประเทศที่ฉลาดในแง่ของการส่งเสริมการท่องเที่ยวแนวใหม่ในอาเซียน ทำคล้าย universal studio ของฮอลลิวู๊ด ในขณะนี้ คือ มีการจัดทัวร์ของรัฐบาลเกาหลีเอง และ ทัวร์เอกชนทั่วไปในลักษณะ “ ตามรอยแดจังกึม ”

6.อารมณ์สะเทือนใจที่สอดแทรกให้คนดูได้ร่วมรู้สึกตามในทุกๆ ตอน เช่น ฉากที่แม่ของจังกึมตาย / สภาพที่จังกึมถูกรังแกในระหว่างคัดเลือกนางกำนัล / ฮันซังกุงและจังกึมเพิ่งรู้ว่าต่างก็เป็นบุคคลที่ตนเฝ้าแสวงหามานาน / จังกึมถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมงาน
สิ่งที่น่าสนใจ จากการมองจุดร่วมของซี่รี่ย์พีเรียดสองเรื่องนี้ คือ ต่างได้รับความสนใจในแง่ของการท่องเที่ยว อันเป็นรายรับของประเทศเกาหลีแบบเสือนอนกิน....

*********************************************************************************


หากท่านผู้อ่านสงสัยว่าจริงหรือไม่ ลองเข้า google เสริช คำว่า ตามรอยแดจึงกึม จะเห็นทัวร์สารพัดยี่ห้อ และราคาหลากหลายโผล่มาให้ตัดสินใจควักเงินในกระเป๋า

แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่า... คือ ภาวะทางปัญญาของท่านผู้ชมบ้านเราทั้งหลาย ที่ถูกพัดพาใหลไปในกระแสเกาหลี ทั้งเต็มใจ และ ไม่รู้ตัว...
กล่าวคือ หลังจากซี่รี่ย์สไตล์เกาหลีกำลังเป็นที่นิยม free tv หรือแม้แต่ cable tv ต่างก็พากันนำซี่รี่ย์เกาหลีมาลงจอกันเป็นแถว... ด้วยคาดหวังความสำเร็จทางสปอนเซอร์ และเอาใจผู้ชมที่ขอให้เป็น “ เกาหลี” แล้วเชื่อว่าชั้นทันสมัย ไม่ทราบว่าเราคิดไปเองหรือปล่าวนะ แต่ขณะนี้ เปิดไป ช่อง 3 5 7 9 itv หรือลอง เชคตารางออนแอร์ดูแล้วคงรู้สึกได้ว่า ตามกันจริงๆ เพราะมีร่วม 20 เรื่อง

ซึ่งอาจง่าย สำหรับผู้ผลิตรายการ เพราะแค่ซื้อมาลงจอออกอากาศ + ฮิต เพราะคนกำลังสนใจเกาหลีเยอะ แต่ผลกระทบที่ตามมาก็มี
เช่น


1.คุณเคยคิดหรือไม่ว่า จู่ๆ จะมีทัวร์การแสดงคอนเสริตของนักร้อง / ดารา เกาหลี เดือนละอย่างน้อย 2 ครั้งในประเทศไทย
2.โฆษณาเครื่องปรับอากาศ มีนางเอกเกาหลีเรื่องฮิตมาลง
3.โทรศัพท์ i-mobile แถมตั๋วคอนเสริต ที่ไม่สามารถหาซื้อได้ เว้นแต่ต้องซื้อมือถือยี่ห้อนี้
4.ทัวร์แดจังกึม ดังที่ไปบอกไปแล้ว
5.ริงโทน เกมส์ ดาวโหลด เกี่ยวกับซี่รี่ย์เหล่านี้ทั้งสิ้น ทั้งละเมิดลิขสิทธิและซื้อลิขสิทธิมาผลิต
6.เครื่องใช้ กิฟท์ชอปทั่วไป ที่มีรูปของซี่นี่ย์เหล่านี้


ล้วนเป็นกระแสมาจาก “ สื่อ” ทั้งนั้น


เงินบ้านเราเทไปที่เกาหลี อันมี “ละคร” เป็นการจุดประกาย


แล้วเมื่อไรจะพัฒนาในแบบฉบับของตัวเองได้เสียที!!!