*STYLE TYPE="text/css"> p {align=justify} BODY{cursor: url(http://ourworld.cs.com/dollielove6/uc4.cur);} a {cursor: url(http://ourworld.cs.com/dollielove6/uc4.cur);} */STYLE> Bakery Idea From me :): เมื่อโทรศัพท์มือถือดังขึ้น ....

Bakery Idea From me :)

วันเสาร์, ตุลาคม 22, 2548

เมื่อโทรศัพท์มือถือดังขึ้น ....

เมื่อหลายวันก่อน…. เสียงโทรศัพท์มือถือของเราดังขึ้น..


-ฮัลโหล
*พี่ก้อยรึป่าวคะ
-ค่ะ ใครคะ
*สวัสดีค่ะ หนูโทรจากนิเทด จุฬา เป็นรุ่นน้องพี่ก้อยค่ะ อยากให้พี่ช่วยประชาสัมพันธ์จุฬาวิชาการให้หน่อยได้ไหมคะ คือ อยากได้แบนเนอร์ฟรีด้วยค่ะ งานจัด 23-37 นี้ค่ะ
- ( นึกในใจ อ่อ..ของฟรีนี่เอง อีกแล้ว T_T” )
* และอยากรบกวนพี่ก้อยให้มาช่วยงานด้วยค่ะ อาจารย์ ..... ฝากบอกว่าให้พี่มาช่วยงานปีนี้ เพราะน้องในภาคคนน้อยค่ะ .........
- ยังไม่แน่ใจค่ะว่าว่างแค่ไหน เพราะช่วงนี้พี่ก็ยุ่งๆ อยู่ bra bra bra ….








ยังไม่ทันคิดว่าจะว่างไปช่วยงานที่ภาควิชาแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ การโทรมาของน้องในครั้งนี้ ... ก็ทำให้เราคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ ได้พอสมควรเลยทีเดียว


เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่เราต้องวุ่นเตรียมงาน กิน อยู่แทบจะค้างคณะร่วมเดือน ตอนนั้นจำได้ว่า มีทั้งความสนุก ความสุขปนความเหนื่อย( ชิบหาย ) แต่ท้ายที่สุด คือ ความภูมิใจเมื่อได้เห็นน้องมัธยมมาชื่นชมและได้ความรู้จากผลงานของเรานี่แหละ....



ภาควิชาของเราเป็นภาควิชาที่คนเลือกเรียนเอกน้อยที่สุด แต่มีการจัด display ต่างๆ มากที่สุด เกือบทุกปีที่มีจุฬาวิชาการ.....

ต้องขอบคุณน้องคนนี้ ที่ทำให้สมองเราคิดเรื่องอื่นอีกครั้ง... หลังจากมึนๆ ตึ๊บๆ คิดมากว่าจะสอบผ่านหรือสอบตกในวิชากฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ที่ใหม่นี้ได้ไม่กี่วัน



เออ... ยังดีวะ


***********************************************


ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง... / เมื่อ 3 ปีที่แล้วตอนจัดงาน เรารู้อะไรบ้าง...
--- เป็นที่น่าอนาถจิตอย่างที่สุด เมื่อได้คำตอบจากตนเองว่า เมื่อ 3 ปีที่แล้ว กรูยังรู้ทฤษฏีทางวาทวิทยามากกว่าตอนนี้เลย

เห้อ
เหอะเหอะ

เอาน่ะ แต่ตอนนี้ก็มีความสุขนะ ที่ได้เรียนกฎหมายเพิ่มมากขึ้นอย่างที่อยากเรียน

ถัวกันได้ป่าวหว่า???

ไม่ๆๆๆ

ไอ้ที่เรียนมาแล้วก็ควรไม่หายเสียปล่าวไป


ว่าแล้ว...ก็
พยายามกลับไปขุดรายงานเก่าของตัวเองมาเรียบเรียงและพิมพ์ใหม่ เพื่อเป็นการระลึกถึงองค์ความรู้เดิมที่สติปัญญาของเรามันใกล้ดับสูญไป และเพื่อเป็นการระลึกถึงโอกาส “ จุฬาวิชาการ’ 48” ครั้งนี้ด้วย


วาทะที่นำมาวิเคราะห์เป็นวาทะของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภา


วาทะของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

กล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภา
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523


ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย กระผมาวันนี้เพื่อรายงานข้อราชการและความในใจต่อท่านสมาชิกรัฐสภาที่เคารพทั้งหลายในฐานะที่รัฐสภาได้มอบหมายให้กระผมเป็นหัวหน้ารัฐบาลบริหารกิจการ้านเมือง รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรายงานการปฏิบัติหน้าที่ตลอดจนชี้แจ้งแถลงข้อสงสัยหรือข้อข้องใจใดๆ อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานอันพึงมีต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นสถาบันอันสูงส่งของผู้แทนปวงชนเจ้าของประเทศ รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาในฐานะผุ้ควบคุมดูแล รัฐสภาอาจเรีบกรัฐบาลให้มาชี้แจ้งรายงานการปฏิบัติรายการได้ทุกเวลา




ดังนั้นเมื่อกระผมได้ทราบว่าท่านสมาชิกรับสภาผู้มีเกียรติที่เคารพทั้งหลายมีข้อสงสัยมีข้อข้องใจหรือข้อไม่พอใจการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ในการบริหารประเทศของรัฐบาล กระผมจึงได้มารายงานต่อเพื่อชี้แจ้งแถลงข้อเท็จจริงในวันนี้ ก่อนื่อนกระผมขอกราบเรียนท่านสมาชิกรัฐสภาที่เคารพทั้งหลายว่า กระผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงสุดในชีวิตที่ท่านสมาชิกรัฐสภาได้ให้ความไว้วางใจและมอบหมายให้กระผมแต่งตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ กระผมมีความสำนึกอยู่ตลอดเวลา ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระผมและคณะรัฐมนตรีมีความจงรักภักดีและอุทิศจิตใจ ตลอดจนความรู้ความสามารถเพื่อรับใช้ชาติ ศาสนา และพระมาหากษัตริย์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้งในฐานะที่เป็นคนไทย เกิดบนผืนแผ่นดินไทย และมีชีวิตอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย อีกทั้งมีญาติพี่น้องและมิตรสหายเป็นคนไทย






กระผมขอให้ความมั่นใจแก่สมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลายว่า กระผมมีความรักและมีความห่วงใยประเทศชาติ ประชาชนชาวไทยอยู่อย่างเต็มเปี่ยม เช่นเดียวกับท่านทั้งหลาย เช่นเดียวกับกระผมมีความรับผิดชอบอยู่ทุกขณะ ตลอดเวลาที่มอบหมายภารกิจให้บริหารบ้านเมือง ที่จะสร้างสรรค์ให้ประเทศชาติบ้านเมืองของเรามีความสงบสุขและเจริญก้าวหน้าให้พี่น้องประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศได้มีชีวิตที่เป็นสุขยิ่งขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีหลักประกันในชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ กระผมได้กล่าวไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งนายยกรัฐมนตรีแล้ว กระผมพร้อมที่จะทำงานให้ได้ผลดีที่สุด แก่ประชาชนส่วนใหญ่ โดยจะไม่ยอมให้วิถีทางการเมืองมาเป็นเครื่องกีดขวางเจตนารมณ์อันนี้ กระผมได้ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า กระผมจะรับใช้ประเทศเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ กระผมเองมีความมุ่งมั่นเช่นเดียวกับท่านที่รักประเทสชาติเหมือนกัน ที่จะสร้างสังคมที่เป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน






นอกเหนือจากนี้ กระผมเองได้พยายามทุกวิถีทางในอันที่จะปกป้องประเทศของเราเอาไว้ให้พ้นจากการรุกรานจากต่างแดน ซึ่งทุกครั้งที่กระผมมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศทั่วโลกได้พยายามอย่างดีที่สุดที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองด้านต่างประเทศขึ้น เมื่อปีที่แล้วกระผมก็ได้มีโอกาศไปเยี่ยมประเทศใน สแกนดิเนเวีย คือ สวีเดน กับ เดนมาร์ค ท่านนายกรัฐมนตรีของประเทศทั้งสองก็ได้พูดคุยย้ำกับกระผมว่า รัฐบาลของเขามีนโยบายเป็นกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีขัดแย้งในกลุ่มประเทศอินโดจีนด้วยกัน ในสหรัฐอเมริกาเอง ท่านประธานาธิบดีคาร์เตอร์ได้บอกกับกระผมถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลท่านที่จะให้ความสนับสนุนช่วยเหลือให้เมืองไทยได้มีความมั่นคงพ้นจากการรุกรานของประเทศอื่น ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ท่านประธานาธิบดีเบรซเนฟ ซึ่งท่านมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคความมิวนิสต์อยู่ด้วยก็ได้ให้ความมั่นใจแกี่กระผมที่จะสนับสนุนให้เมืองไทยอยู่อย่างสงบจากการรุกรานจากต่างชาติเช่นกัน เมื่อกระผมได้ไปเยี่ยมประเทศจีนเมื่อปีที่แล้วท่านประธานสภาจอมพลเย เจียน อิง ท่านนายรัฐมนตรี หัว โก๊ะ ฝง และท่านรองนายกรัฐมนตรี เติ้ง เสี่ยว ผิง ก็ยืนยันเช่นกัน สำหรับประเทศเวียตนาม ท่านนายกรัฐมนตรี ฟาม วันก็ยืนยันกับกระผมเป็นส่วนตัวว่า รัฐบาลของท่านปรารถนาอย่างจริงใจที่จะเป็นมิตรกับประเทศไทย ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับเขา นอกจากนั้นก็ได้รับการยืนยันจากประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีความเห็นอย่างเดียวกันที่ได้เห็นประเทศไทยเป็นประเทศอิสระ เพื่อจรรโลงสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่ประเทศในแถบนี้





กระผมได้กล่าวมาแล้วตลอดเวลาว่า ปรารถนาที่จะให้ประเทศเรารักษาความเป็นกลางอย่างแท้จริง ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยสร้างมิตรภาพกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา กระผมขอย้ำว่าในเรื่องนี้ รัฐบาลได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจจากนานาชาติอย่างพร้อมเพรียงกัน กระผมได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยมีความเป็นกลางนี้ตลอดมา โดยหวังความสนับสนุนจากพี่น้องคนไทยทุกคน สถานการณ์ภายในประเทศระยะเริ่มแรกก็เป็นไปด้วยความขุ่นข้องหมองใจและขัดแย้งกัน ไม่ยอมหันหน้ามาเข้าหาประนีประนอมกัน สภาพการณ์เหล่านี้ล้วนแต่มีส่วนบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศชาติทั้งสิ้น รัฐบาลก็ได้พยายามชักจูงสร้างบรรยากาศและความเข้าใจ ความสามัคคีปรองดองและความให้อภัยให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติ ได้สร้างฐานการเมืองและการปกครองที่มีเหตุผลเปิดเผยอันเป็นลักษณะจำเป็นของระบอบประชาธิปไตย และได้นำบ้านเมืองให้ผ่านพ้นอาณาจักรแห่งความกลัวให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและอภัยต่อกัน กระผมมีความเห็นว่าบ้านเมืองเราได้เริ่มเข้ารูปเข้ารอยพร้อมทั้งเริ่มต้นเร่งพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆกันต่อไปแล้ว






ในเรื่องภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของประชาชนนั้น กระผมขอเรียนว่ารัฐบาลได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตลอดเวลา อีกทั้งได้พยายามใช้มาตรการทุกอย่างที่จะช่วยขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนเหล่านั้นให้น้อยลงมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อย่างไรก็ตาม กระผมใคร่ขอเรียนว่า ภาวะเศรษฐกิจนั้นเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกระเทือนเป็นลูกโว่กันทั่วทั้งโลก เหตุการณ์หรือสภาวะผันแปรทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งส่วนใดของโลกย่อมส่งผลกระทบกระเทือนไปยังประเทศต่างๆ ในโลกด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มากก็น้อย ยิ่งประเทศไทยเรา นอกจากเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งต้องขึ้นกับความเมตตาของสภาพดินฟ้าอากาศ อันไม่อาจควบคุมได้แล้ว ยังต้องขึ้นกับอำนาจต่อรองประเทศอื่นๆอีกด้วย ยิ่งทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของเราหวั่นไหวได้มากขึ้น






ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติคงจะพอจำกันได้ว่า ในระยะแรกที่กระผมเข้ารับหน้าที่นั้น ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของโลกเริ่มปั่นป่วน เกิดทั้งภาวะเงินฟุ้งและและเงินฟุบพร้อมๆกัน อีกทั้งกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันก็ได้เริ่มสร้างพลังต่อรองทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยการขึ้นราคาน้ำมันดิบระลอกแล้วระลอกเล่า จนเกิดวิกฤติการณ์อิหร่านเข้าอีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของโลกและของเราปั่นป่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลก็ได้พยายามประคับประคองภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพของเราให้ทรงตัวอยู่ได้ดีพอควร ซึ่งถ้าจะคำนึงถึงภาวะฝนแล้งตลอดปีแรกที่กระผมเข้ารับหน้าที่และอุทกภัยที่สร้างความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสแก่ประชาชนเกือบทั้งประเทศ โดยรัฐบาลได้นำมาตรการต่างๆ ทุกวิถีทางมาช่วยบรรเทาควาทเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ผ่านพ้นความวิปโยคไปได้แล้ว รัฐบาลก็รู้สึกโล่งใจในภาวะอันหนักอึ้งนี้เป็นอันมากไปอีกครั้งหนึ่ง






รัฐบาลได้พยายามจนสุดความสามารถที่จะชะลอและตรึงราคาไฟฟ้าและน้ำประปาไว้จนไม่อาจฝืนต่อภาวะกดดันและจำเป็นต่อไปอีกได้ จึงต้องขึ้นราคาไฟฟ้าและน้ำประปาไป เพราะรัฐบาลไม่มีเงินทุนที่จะนำมาจ่ายชดเชยต่อไปได้แล้ว อีกทั้งยังไม่เป็นธรรมต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และยังทำให้การพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ชาวชนบทต้องหยุดชะงักไปด้วย ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่รัฐสภาได้เห็นชอบแล้ว กระผมเชื่ออย่างเหลือเกินว่าท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติทั้งหลายคงจะไม่คัดค้านในนโยบายช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรและชาวชนบทในเขตของท่านอย่างแน่นอน






ความจริงแล้ว หากรัฐบาลจะเห็นแก่ความสะดวกและสบายและไม่มีความรับผิดชอบแล้สเพียงแต่ผลักภาวะให้พอพ้นหน้าโดยไม่ต้องปรับราคาอะไร รัฐบาลก็คงสบายเอาตัวรอดได้ ส่วนผลเสียหายร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติและประชาชนในอนาคตอันไม่ไกลนัก ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลที่ตะมารับภาระในภาบหลังที่จะหาทางแก้กีนเอง ก็ย่อมทำได้ ดังนั้นการที่รัฐบาลนี้เลือกตัดสินใจในการที่จะแบกรับภาระเอาไว้เองก็เพราะว่าหวังที่จะให้เกิดผลดีในระยะยาวแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ในปัญหาเรื่องการปรับราคาน้ำมันก็เช่นเดียวกันรัฐบาลได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า โดยเหตุโดยผลแล้วไม่มีทางเลือกที่จะดีกว่า จึงจำเป็นที่จะต้องปรับราคาขึ้นไปให้สอดคล้องกับความจำเป็นของตลาดโลก เพราะรัฐบาลได้คำนึงถึงความจำเป็นและความเป็นไปได้เป็นสำคัญ หากราคาน้ำมันในประเทศต่ำกว่าราคาน้ำมันในต่างประเทศแล้วหรือต่ำกว่ามากแล้ว เราจะไม่มีน้ำมันใช้จะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น หากเรายังต้องการระบบตลาดเสรีเช่นนี้อยู่ เราต้องยอมรับหลักอุปสงค์และอุปทานและราคาด้วย






ในเรื่องผู้อพยพลี้ภัยก็เช่นกัน ก็ได้มีฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยอินโดจีนของรัฐบาลเป็นอย่างมาก ทั้งที่เรื่องผู้อพยพลี้ภัยนี้เป็นเรื่องของเมตตาธรรมและมนุษยธรรม ซึ่งเราในฐานนะของพุทธศาสนิกชนอีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านควรจะพึงช่วยเหลือกันได้ นโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้ก็ได้รับความนิยมยกย่องจากทั่วทุกประเทศทั่วโลก แต่ฝ่ายค้านกลับถือเป็นเรื่องเสียหาย กระผมขอยืนยันว่านโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้มิใช่เป็นสิ่งที่นำความเสียหายมาสู่ประเทศอย่างใดเลย ในทางตรงกันข้าม ถ้าพิจารณากันให้ถ่องแท้และลึกซึ้งแล้ว มันจะทำคุณประโยขน์ให้แก่ชาวโลกและชาวไทยเองอย่างหาค่าเปรียบมิได้





ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ กระผมได้สดับตรับฟังท่านสมาชิกฝ่ายค้านผู้มีเกียรติได้กล่าวโจมตีกระผมทั่งที่ปรากฎในสภาฯ และสื่อมวลชนและที่อื่นมานานแล้ว กระผมจะสรุปได้ว่าท่านสมาชิกฝ่ายค้านพากันมุ่งมั่นแต่เพียงอย่างเดียวคือ เพื่อจะล้มล้างรัฐบาลหรือเพียงที่จะหารัฐบาลใหม่มาแทนรัฐบาลของกระผมเท่านั้น กระผมเองยอมรับภารกิจการกระทำซึ่งถูกต้องตามครรลองของประชาธิปไตยของท่านทั้งหลาย ท่านสมาชิกฝ่ายค้านย่อมมีสิทธิที่จะออกเสียงร่วมกันล้มล้างรัฐบาลและนายกฯได้ และกระผมได้ขอเสนอความคิดอย่างจริงใจว่าประชาธิปไตยนั้นเกินกว้างกว่าเหตุผลที่ท่านสมาชิกฝ่านค้านทั้งหลายมุ่งมั่นกันแต่เพียงจะล้มล้างรัฐบาลเท่านั้น เพราะประชาธิปไตยนอกจากมีความหมายในการปกครองโดยประชาชนมีส่วนร่วมแล้ว ยังหมายถึงความรับผิดชอบต่อประชาชนอย่างมาก อย่างไรก็ตามตั้งแต่กระผมเฝ้าติดตามการโจมตีของท่านฝ่ายค้านมาโดยตลอด ยังไม่ได้ยินข้อความแม้แต่ประโยคเดียวที่จะแจ้งให้ประชาชนทราบว่าท่านจะทำอะไรให้กับประชาชนหลังจากล้มล้างรัฐบาลแล้ว






ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ กระผมมีความเห็นโดยสัตย์จริงว่า การรณรงค์ของพรรคฝ่ายค้านเพื่อรวมโจมตีรัฐบาลนี้นั้นเป็นการกระทำที่อ่อนเหตุผล กระผมมีความเชื่อว่าเวทีการเมืองนั้นมีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าที่จะใช้เป็นที่รองรับความใฝ่ฝันทะเยอทะยานเป็นส่วนตัวของนัการเมือง กระผมขอย้ำว่าประเทศเราในขณะนี้กำลังอยู่ท่ามกลางวิกฤติการณ์หลายด้าน และกำลังต้องการอย่างยิ่งเพื่อให้เกิดความสามัคคีร่วมใจกันทุกๆฝ่าย ในการแก้ปัญหาร่วมกัน มิใช่ให้เกิดการแตกแยกแย่งอำนาจกัน สิ่งที่ประเทศเราต้องการอย่างยิ่งในเวลานี้ ขณะนี้ก็คือ เสถียรภาพในทางการเมือง ทางฝ่ายพรรคการเมืองได้พยายามอย่างยิ่งที่จะช่วยกันสร้างสถานการณ์ให้เห็นว่าการเมืองในประเทศเรามีวิกฤติการณ์อย่างหนัก และต่างก็ได้ร่วมกันมุ่งมั่นที่จะโค่นล้มรัฐบาลและตัวกระผมเอง ในขณะนี้กระผมของกล่าวจริงใจว่า กระผมและทุกคนในชาติสนใจและหวังเป็นอย่างสูงแต่เพียงให้ประเทศชาติอยู่รอดมีความมั่งคงต่อไปในอนาคตเท่านั้น ท่านประธานที่เคารพ กระผมวิงวอนสมาชิกรัฐสภาทุกท่านจงมีความรอบคอบสุขุมในการรณรงค์ครั้งนี้ อย่างกระทำการใดๆโดยขาดความยั้งคิดในระยะที่นานาชาติกำลังมีวิกฤติการณ์ทางการเมืองอยู่ทั่วไปในโลก โดยเฉพาะในระยะนี้ซึ่งมีความตึงเครียดหลังจากเหตุการณ์ในอัฟกานิสถาน ในอิหร่าน ตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้ก็กำลังมีวิกฤติการณ์ของตัวเองเช่นกัน วิกฤติการณ์ความตึงเครียดนี้ยังได้เกิดขึ้นในดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ตามชายแดนของเราอีกด้วย กระผมขอย้ำว่าประเทศเราในขณะนี้กำลังต้องการความร่วมมือร่วมใจกันอย่างมากที่สุด กระผมได้มีความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะรักษาสถานการณ์ภายในประเทศให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นได้ กระผมจะไม่ยอมให้เกิดความวุ่นวายถึงขั้นก่อให้เกิดความไม่มั่นคงขึ้นในประเทศเราเป็นอันขาด กระผมขอยืนยันให้ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติได้ทราบอีกครั้งถึงความตั้งใจจริงของกระผมที่จะรักษาประเทศชาติของเราให้อยู่รอดได้ด้วยชีวิตกระผมขอร้องให้ท่านร่วมกันรับผิดชอบในความเป็นอยู่รอดของประเทศชาติด้วยเช่นกัน ขอให้ตระหนักถึงอันตรายจากสถานการณ์วิกฤติการณ์รอบๆบ้านเราอยู่ในขณะนี้ กระผมขอวิงวอนด้วยใจจริงให้ท่านร่วมกันคิดถึงประโยชน์ของประเทศชาติเหนือสิ่งอื่นใด และอย่าได้พยายามสร้างความวุ่นวายให้ประเทศเราเลวร้ายจนแก้ไขไม่ได้ไปกว่านี้แล้วจะเสียใจ ในการแถลงต่อสภาฯในวันนี้กระผมได้เลือกพูดถึงปัญหาต่างประเทศก่อน เพราะกระผมเห็นความสำคัญและจำเป็นว่าประเทศเราจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ ความจริงแล้วประเทสเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบสหประชาชาติซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การที่เราต้องกระทบปัญหายุ่งยากจากปัญหาตกต่ำของเศรษฐกิจที่มาจากนอกประเทศของเราและปัญหาทางเศรษฐกิจนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากท่านสมาชิกทั้งหลายอีก ทั้งมิใช่เรื่องที่ทำให้แล้วเสร็จโดยเห็นผลกันในวันในพรุ่ง โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจและการเมืองของโลกได้ผันแปรไปเช่นนี้ กระผมขอกล่าวด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า กระผมไม่ขอร้องให้ท่านมาสนับสนุนรัฐบาลนี้และตัวกระผม แต่เหนือสิ่งอื่นใด กระผมของร้องให้ท่านคงร่วมมือร่วมใจในการสนับสนุนประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราทุกคน ตลอดเวลาที่กระผมได้ทำหน้าที่แผ้วถางทางประชาธิปไตยให้ประชาชนและสังคม กระผมได้ขจัดขวากหนามใดๆ ที่ขัดขวางหนทางไปสู้ประชาธิปไตย ซึ่งกระผมมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่จะเรียนให้ทราบว่ากระผมได้กระทำด้วยความสำนึกและมโนธรรมที่บริสุทธิ์ ไม่มีการเคลือบแฝงด้วยโลภะ โทสะ โมหะจริตใดๆ ทั้งสิ้น ผลที่ได้รับคืออะไร คือการถูกขับไล่ ท่านลองถามตัวท่านเองดูซิว่า ท่านต้องการอะไรในการกระทำครั้งนี้ คำตอบคือ ต้องการขับไล่รัฐบาลออกไปให้ได้จะด้วยเหตุผลอะไรก็ได้ขอให้ออกไปให้ได้ แล้วท่านจะทำอย่างไรต่อไปเมื่อท่านได้อำนาจทางการเมืองมาแล้วท่านจะทำอย่างไร ความจริงในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งที่ผ่านมา กระผมประสงค์จะให้มีการประสานความสามัคคีกันในชาติ เราจะมาแบ่งพรรคแบ่งพวกกันต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะเป็นโอกาสที่เหลือไม่มากนักที่จะร่วมมือกับจรรโลงประเทศชาติ จึงได้พยายามติดต่อทางตรงและทางอ้อมกับท่านหัวหน้าพรรคหลายพรรค แต่ด้วยเหตุผลและเงื่อนไขต่างๆนานาปนะการก็ไม่สำเร็จ





กระผมจึงจำเป็นต้องขอพระบรมราชโองการจัดตั้งรัฐบาลไปตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมซึ่งก็คงไม่เป็นที่สบอารมณ์หลายท่าน อันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการโจมตีเพื่อล้มรัฐบาลในครั้งนี้ด้วยก็ได้ การขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและรัฐสภาไม่เป็นสิ่งดีและเชื่อว่าไม่เป็นสิ่งที่ประชาชนปรารถนา ประชาชนบางส่วนที่อยู่ในชนบทก็ไม่สนจว่าใครจะมาบริหารประเทศขอให้ปากท้องอิ่มแล้วกัน แต่ความขัดแย้งก็ได้ก่อตัวทับทวีจนยากที่รัฐบาลจะบริหารงานของชาติให้บรรลุสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นเพื่อรักษาเอาไว้ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยระบบรัฐสภากระผมจึงได้ตัดสินใจ กระผมขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ระบบรัฐสภาของประชาธิปไตยดำรงคงอยู่ตลอดไป ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านเลือกบุคคลที่มีความสามารถดีกว่าเข้ามาบริหารประเทศรับใช้ประชาชนต่อไป


การวิเคราะห์โดยอิงหลักอริสโตเติล เน้นเหตุผลที่ผู้พูดนำมาเสนอ
( ขออนุญาต อธิบายหลักทฤษฎีคร่าวๆ เพื่อง่ายแก่การทำความเข้าใจก่อน)

*************************************************************************************
หลักของอริสโตเติล

เหตุผลที่ผู้พูดหยิบยกมาเสนอต่อผู้ฟัง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อริสโตเติลจัดว่าผู้พูดสามารถใช้เป็นวิธีการนึงในการโน้มน้าวใจผู้ฟังได้ ภาษากรีกเรียกว่า Logos ในเรื่องเหตุผลนี้อริสโตเติล จำแนกไว้เป็นสองประเภท คือ เหตุผลที่มาจากตัวอย่าง (example) และเหตุผลที่มาจากเอนธีมีม(enthymemes)

อริสโตเติลกล่าวว่าตัวอย่างมีสองประเภท
ประเภทแรก ได้แก่ ตัวอย่างที่เป็นเรื่องจริงจากประวัติศาสตร์
ประเภทที่สองได้แก่ ตัวอย่างที่ผู้พูดแต่งขึ้น

สำหรับประเภทที่สองนี้อาจจะเป็นนิทานที่เป็นคติสอนใจ ชาดกนิทานอีสป เหล่านี้เป็นต้น ในการยกตัวอย่างนี้ ผู้พูดอาจจะยกตัวอย่างในเชิงเปรียบเทียบเช่น ในอดีต เหตุการณ์ หรือประวัติศาสตร์เคยเป็นเช่นนี้ ฉะนั้น เราต้องระวังอย่าให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดซ้ำขึ้นอีก อริสโตเติลตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ผู้พูดควรจะใช้ตัวอย่างเมื่อไม่มีเอนธีมีมจะใช้ เพราะผู้ฟังจะเกิดความเชื่อก็ต่อเมื่อมีข้อพิสูจน์ แต่ถ้าผู้พูดใช้เอนนธีมีมการใช้ตัวอย่างควรจะตามหลังเอนธีมีม เพราะถ้าใช้ตัวอย่างขึ้นก่อน การโต้แย้งจะมาในรูปแลลอุปมาน (induction) ซึ่งไม่เหมาะสำหรับวาทศิลป์ ( ในทัศนะของอริสโตเติล) อริสสโตเติลคิดว่าเมื่อใช้ตัวอย่างตามหลักเอนธีมีม การอธิบายนี้ก็เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจแนวคิดของอริสโตเติลเท่านั้น


เอนธีมีมเป็นรูปแบบหนึ่งของการโต้แย้ง อริสโตเติลถือว่าเอนธีมีมเป็นรูปแบบที่ไม่สมบูรณ์ของซิลลอจิสซึม (syllogism) นั่นคือ รูปแบบของซิลลอจิสซึม ประกอบด้วยประโยคตรรกะ 3 ประโยค เป็นข้อเสนอ 2 ประโยค ข้อสรุป 1 ประโยค เอนธีมีมจะลดประโยค 1 ประโยคไว้ อาจจะเป็นข้อเสนอหรือข้อสรุปก็ได้ เช่น ซิลลอจิสซึมที่ว่า
มนุษย์ทุกคนต้องตาย (ข้อเสนอ)
มนัสเป็นมนุษย์คนหนึ่ง (ข้อเสนอ)
มนัสต้องตาย (ข้อสรุป)


ในรูปแบบของเอนธีมีม เราจะพูดได้สามอย่างคือ (1) มนัสเป็นมนุษย์คนหนึ่ง มนัสต้องตาย หรือ (2) มนุษย์ทุกคนต้องตาย มนัสเป็นมนุษย์คนหนึ่ง หรือ (3) มนุษย์ทุกคนต้องตาย มนัสก็ต้องตาย หลักมีอยู่ว่าผู้พูดจะให้ผู้ฟังเป็นผู้เติมข้อความที่ละไว้ในใจของผู้ฟังนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นการโน้มน้าวใจวิธีหนึ่ง เพราะผู้ฟังจะมีส่วนร่วมในคำในโต้แย้งจองผู้พูดโดยไม่รู้ตัว และข้อความที่เติมลงไปเป็นข้อความที่ผู้พูดได้ให้แนวทางไว้แล้วในสองประโยคตรรกะ


อริสโตเติลเขียนไว้ว่าเมื่อผู้พูดต้องการจะโนมน้าวใจ จะพูดยาวไม่ได้ ต้องพูดสั้นๆ เพราะมิฉะนั้นผู้ฟังจะตามไม่ทัน โดยเหตุที่อริสโตเติลถือว่าเอนธีมีมเป็นหัวใจของการโต้แย้งและการโน้มน้าวใจ อริสดตเติล จึงได้อธิบายและยกตัวอย่าวฃงในเรื่องนี้อย่างละเอียดโดยแยกเอนธีมีมไว้ 28 ชนิด (Cooper 1960: 154-158 ; Bitzer 1959 : 408 ตัวอย่างที่อริสโตเติลยกส่วนใหญ่เห็นจะเป็นตัวอย่างจากมหากาพย์เรื่อง Iliad และ Odyssey ของโฮเมอร์กวีเอกของกรีซ เอนธีมีมเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ในภาษาไทยโดยมีความสอดคล้องกับโครงสร้างและความหมายในภาษาไทยประมาณ 25 ชนิด คือ

1. สิ่งตรงกันข้าม (opposites) เช่น ถ้าบอกว่า สิ่งที่เป็นจริงกับ ก ย่อมเป็นจริงกับ ข เราต้องสรุปได้ว่า สิ่งตรงข้ามกับ ก ก็ย่อมไม่เป็นจริงกับ ข ถ้าหากไม่เป็นจริงดังนั้น เราสามารถล้ม Premise แรกได้ ถ้าหากเป็นจริง เราก็สนับสนุน Premise เดิมได้ เช่น

ตัวอย่าง การควบคุมตนเอง (ก) เป็นสิ่งดี (ข)
เพราะการหลงมัวเมา เป็นสิ่งชั่ว (ข)

ตัวอย่าง ถ้าสงครามเป็นสาเหตุของสิ่งชั่วร้ายปัจจุบันที่เราได้รับอยู่
สันติภาพคือสิ่งที่เราต้องการมาแก้ไขสภาพนี้

2. สิ่งสัมพันธ์กัน (correlative terms) “ถ้าหาก ก ให้การต้อนรับที่ดีต่อ ข” เราพูดว่า “ข ได้รับการต้อนรับที่ดีจาก ก” หรือถ้า “ก มีสิทธิ์ที่จะสั่ง ข” “ขก็ทำถูกต้องในการที่จะเชื่อฟัง ก” มีอีกกรณีหนึ่งที่จะแย้งได้ว่า “การที่ ข ได้รับผลเช่นที่ได้รับเป็นการสมควรแล้ว ถ้าแย้งแบบนี้อาจผิดเพราะจะต้องคิดว่า การที่ ข สมควรได้รับผลดังที่เกิดขึ้นกับตัวเราก็มิได้หมายความว่า ข ควรจะได้รับผลนั้นจาก ก เพราะฉะนั้น ถ้าจะโต้แบบนี้จะต้องดูว่า
1. ข สมควรได้รับผลดังที่เป้นอยู่หรือไม่
2. ก ควรเป็นผู้ที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้นหรือไม่

3. มากหรือน้อย ( more or less) เราโต้ในแง่ที่ว่า ถ้าเราไม่สามารถพบสิ่งหนึ่งในที่ที่มีแนวโน้มว่าควรจะมีที่สุดแล้ว เราย่อมไม่สารมารถพบมันในที่ที่มีแนวโน้มน้อยยิ่งขึ้นไปอีก เช่น แม้แต่เทวดายังไม่หยั่งรู้ดินฟ้า เราซึ่งคนธรรมดาสามัญจะรู้ได้อย่างไร หรือสี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง หรือ ถ้าท่านเห็นว่าเป็นการสำคัญที่จะรักษาชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยของท่าน ภารกิจที่จะรักษาชื่อเสียงของประเทศของท่านก็ย่อมสำคัญมากยิ่งขึ้น

4. เงื่อนไขตามกำหนดเวลา (considerations of times) เช่น ไอพีเครตีสพูดกับฮาร์ดมเดียสว่า ถ้าก่อนที่จะกระทำการนี้ ข้าพเจ้าได้ขอร้องท่านว่า ถ้าข้าพเจ้าทำสำเร็จข้าพเจ้าควรจะได้รูปปั้น ท่านก็จะให้รูปปั้นแก่ข้าพเจ้า และขณะนี้ผลงานก็ออกมาแล้ว ท่านจะปฏิเสธรูปปั้นต่อข้าพเจ้าท่านให้สัญญาแล้ว อย่าถอนคำมั่นสัญญาเหล่านั้น เมื่อทานได้เก็บเกี่ยวผลกำไรแล้ว

5. คำพูดของฝ่ายตรงข้ามย้อนโจมตีเขาเอง (opponent’s utterance turns against him) เช่น ไอพีเครตีส ตอบคำถามของอริสโตฟอนโดยถามว่า “ท่านจะทรยศต่อกองทัพเพื่อเก็นแก่เงินหรือไม่” อริสโตฟอน ตอบว่า “ไม่เด็ดขาด” ไอพีเครตีส ตอบว่า”ดีมาก ก็ขนาดท่าน อริสโตฟอน ท่านยังไม่ทำแล้วข้าพเจ้าไอพีเครตีสจะทำหรือ” การย้อนแบบนี้จะได้ผลในกรณีที่ผู้ฟังยอมรับว่าผู้พูดนั้นมีคุณสมบัติเหนือว่าอีกฝ่ายทุกประการ

6. คำจำกัดความ (definition) เช่น ซอเครตีสพูดว่า “สิ่งที่เป็นเทพคิออะไร ก็ต้องเป็นเทพเจ้าเองหรือมิฉะนั้นก็งานของเทพเจ้า ถ้าท่านเชื่อว่ามีงานของเทพเจ้า ท่านก็ต้องเชื่อในความมีอยู่ของเทพเจ้า” หรือเหตุผลของซอเครตีสในการไม่เยี่ยมสำนักของอาคิคอส คือ “ความละอายนั้นคืออาการที่ไม่สามารถตอบแทนผลประโยชน์ที่ได้รับกัยการที่ไม่สามารถจะแก้แค้นสิ่งชั่วร้ายได้” คือ ซอเครตีสจะให้คำจำกัดความก่อน และจากนั้นก็โยงจากคำจำกัดความนี้ไปได้ในเรื่องที่ต้องการจะพูด

7. การแบ่ง (Division) อริสโตเติลกล่าวว่า เราอาจจะโต้ว่า “ทุกคนทำผิดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ก ข ค สำหรับกรณีของข้าพเจ้านั้น ข้อ ก และ ข ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่พูดอยู่ ส่วนข้อ ค นั้นทางฝ่ายอัยการก็มิได้กล่าวหาข้าพเจ้าในประเด็นนี้” เพราะฉะนั้นการกล่าวหาก็จะไม่มีน้ำหนักพอหรือตกไป

8. อุปมาน (induction) ได้แก่ การยกตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่างแล้วนำมาทำข้อสรุปซึ่งอริสโตเติลถือว่าสำคัญในการโต้แย้งเช่นเดียวกับเอนธีมีม

9. ข้อยอมรับที่มีอยู่แล้ว (existent decisions) คือการโต้แย้งโดยอ้างไปถึงประเด็นที่ยอมรับโดยทุกคนไม่ว่าที่ใดเวลาใด หรือยอมรับโดยคนหมู่มาก หรือโดยคนดีหรือคนฉลาด หรือโดยเทพเจ้า หรือโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น อาจจะพูดว่า “พระพุทธองค์มิได้เคยตรัสเช่นนั้น” “อธิการบดีกล่าวว่านโยบายจะเป็นไปในแนวนี้”

10. จากส่วนไปสู่ทั้งหมด (from the parts to the whole) คือ ถ้าอะไรเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงกับส่วน ก็จะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงกับทั้งหมด

11. ผล (simple consequences : good and bad) อริสโตเติลบอกว่า สิ่งหนึ่งอาจจะใช้ผลทั้งดีและเลว เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะหยิบยกประเด็นหนึ่งใดมาพูดก็ได้ แล้วแต่ว่าจะโน้มน้าวใจให้เชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด เช่น การศึกษานั้นทำให้ไม่มีคนชอบ (อิจฉา) (ผลเลว) แต่การศึกษานั้นก็ให้สติปัญญา (ผลดี)

12. ผลที่ไขว้กัน (crisscross consequences) ความแตกต่างระหว่างหัวข้อนี้กับข้างบนคือ ในหัวข้อข้างบน ประเด็นหนึ่งประเด็นให้ผลสองอย่างตรงกันข้ามกัน ในหัวข้อนี้ประเด็นตรงข้ามกันสองประเด็นให้ผลตรงข้ามกันสองอย่าง เช่น พระผู้หญิงองค์หนึ่งของกรีก ห้ามลูกชายมิให้เรียนการพูดในที่ชุมชน เพราะ “ถ้าเจ้าพูดอย่างซื้อสัตย์ มนุษย์ก็จะเกลียดเจ้า ถ้าเจ้าพูดอย่างไม่ซื่อสัตย์ เทพเจ้าก็จะเกลียดเจ้า” หรืออาจจะพูดได้ว่า ฎเราควรจะฝึกการพูดในที่ชุมชนเพราะ ถ้าเราพูดอย่างซื่อสัตย์เทพเจ้าก็จะรักเรา ถ้าเราพูดอย่างไม่ซื่อมนุษย์ก็จะรักเรา”

13. ความคิดภายในและการกระทำภายนอก (inward thoughts and outward show) ข้อโต้แย้งนี้มาจากความคิดว่า มนุษย์ทำท่าเห็นด้วยกับสิ่งหนึ่งภายนอก แต่ในใจก็มีอีกความคิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลาโต้แย้ง ถ้าคู่ต่อสู้ชของเราทำท่าว่ามีศีลธรรมดี เราพูดถึงผลประโยชน์ (ที่ผู้ฟังคาดหวังไว้ภายในแต่ไม่กล้าพูด) ถ้าคู่ต่อสู้โต้ว่ามนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตนเอง เราพูดถึงความยุติธรรมคุณธรรมความดีซึ่งผู้ฟังสนับสนุน

14. ผลที่ได้สัดส่วนกัน (proportional results) เช่นเมื่อลูกชายของไอพีเครตีสซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะถูกบังคับให้ปฏิบัติงานชิ้นหนึ่งด้วยเหตุผลว่าเขาสูงเท่าผู้ใหญ่ แม้จะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม ไอพีเครตีสพูดว่า “ถ้าหากพวกม่านคิดว่าเด็กตัวใหญ่เป็นผู้ใหญ่แล้วแล้วละก็ท่านต้องคิดว่าผู้ใหญ่ตัวเล็กเป็นเด็กด้วย” หรืออีกตัวอย่าง คือที่โอเดดเดสถามว่า “ทหารรับจ้างของท่านสรรเสริญสตราแบคซ์และซารีครีมัสสำหรับการทำงานที่มีคุณค่า ท่านจะไม่เนรเทศทหารรรับจ้างของท่านซึ่งได้ทำสิ่งที่ไร้คุณค่าหรือเป็นโทษหรือ”

15. ผลที่เหมือนกันมาจากสิ่งที่เกิดก่อนที่เหมือนกัน (Identical Result : identical antecedents) เช่น เซโนเฟนีสกล่าวว่าถ้าเรายืนยันกำเนิดของเทพเจ้าก็บาปพอๆกับเรายืนยันจุดดับของเทพเจ้า ทั้งสองอย่างเป็นเครื่องแสดงว่า มีอยู่ขณะหรึ่งที่เทพเจ้าไม่เป็นอยู่ (non-existent) การโต้แย้งแบบนี้จะต้องยึดมั่นกฎว่า ผลที่เกิดตามหลังสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นเกิดสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลง

16. ทางเลือกที่เปลี่ยนไป (altered choices) คือ มนุษย์ไม่เลือกของอย่างเดียวกัน ถ้าทำการเลือกในเวลาต่างกัน แต่อาจจะกลับมาทางเลือกเสีย ตัวอย่างเช่น เมื่อเราถูกเนรเทศเราต่อสู้เพื่อที่จะกลับมา ขณะนี้เรากลับมาแล้ว จะเป็นการประหลาดมากถ้าเราจะเลือกเนรเทศ (ตัวเราทิ้งบ้านเมืองไป) แทนการต่อสู้ หมายความว่าในครั้งนี้พวกเขาควรเลือกที่จะปกป้องเมืองโดยการต่อสู้ ในครั้งก่อนไม่เลือกการต่อสู้แต่เลือกทิ้งบ้านเมือง (เนรเทศ)

17. มูลเหตุจูงใจ (attributed motives) ได้แก่ มูลเหตุจูงใจที่เป็นไปได้เป็นมูลเหตุจูงใจที่แท้จริง เช่น สวรรค์ได้ประทานความสมบูรณ์พูนสุขแก้มนุษย์มิใช่ว่า เพราะสวรรค์เมตตาปรานี แต่เพื่อที่ว่ามนุษย์จะได้มีความโศกเศร้าหนักยิ่งขึ้น (เมื่อขาดมัน) หรืออีกตัวอย่าง คือ ไดโอมี้ดเลือกโอดีสสัสเป็นเพื่อนมิใช่ว่าจะให้เกียรติติโอดัสสัส แต่เพื่อที่จะว่าให้โอดิสสัสแลดูต่ำต้อยกว่าเขา

18. สิ่งยวนใจและสิ่งยับยั้ง (incentives and deterrents) ข้อโต้แย้งนี้พิจารณาดูว่าสิ่งยวนใจและสิ่งยับยั้งอันใดเป็นเครื่องมือทำให้คนทำหรือไม่ทำสิ่งใด เป็นธรรมดาว่า เราจะมีเหตุจูงใจให้ทำสิ่งหนึ่งถ้าสิ่งนั้นเป็นไปได้ง่ายดายและเป็นประโยชน์ต่อเราหรือเพื่อน หรือเสียประโยชน์ต่อศัตรูของเรา อันนี้เป็นจริงแม้ว่าผลจากการกระทำจะเกิดผลเสียหายแก่เราแต่ถ้าเราได้ประโยชน์มากกว่าเราก็จะทำจากแนวคิดเช่นนี้ นักพูดในศาล (อัยการ จำเลย ทนายความ) ก็จะโต้ในทำนองกล่าวหาหรือแก้ตัวในศาลโดยใช้หลักสิ่งยวนใจและสิ่งยับยั้งใจ

19. สิ่งที่เกิดขึ้นที่ไม่น่าเชื่อ (incredible occurrences) การที่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อถูกเชื่อนั้นเป็นข้อพิสูจน์ว่ามันได้เกิดขึ้น และโดยเหตุที่มันไม่น่าเชื่อเมื่อมันเกิดขึ้น ผู้พูดแสดงให้เห็นว่ามันเป็นจริง เช่น แอนโครคลีสบอกกับสภาว่ากฏหมายของเราต้องการกกหมายที่จะแก้ไขมัน ผู้ฟังโห่ขึ้นเพราะเป็นเรื่องไร้สาระ แอนโครครีสจึงพูดว่า ปลายังต้องการเกลือเพื่อจะเก็บรักษามัน ถึงแม้มันจะมีชีวิตอยู่ในน้ำเค็มก็ตามที และแป้งมะกอกก็ต้องการน้ำมันมะกอกซึ่งเป็นการแปลกประหลาดที่ว่าแหล่งน้ำมันมะกอกจะต้องการน้ำมันมะกอกเสียเอง อาจจะเทียบกับสุภาษิตภาษาไทยว่า หนามยอกหนามบ่ง

20. ความจริงที่ขัดแย้งกัน (Conflicting Facts) ข้อนี้ใช้สำหรับพิสูจน์ผิดฝ่ายตรงข้าม ซึ่งให้ข้อมูลสถิติผิดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ

21. การจัดการกับเรื่องอื้อฉาว (how to meet slander) หัวข้อนี้ก็เพียงแต่อธิบายว่า เหตุใดความจริงจึงถูกมองไปในทางที่ผิดกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว เช่น การที่ผู้ชายคนหนึ่งกอดผุ้หญิงอีกคนหนึ่งมิใช่หมายความว่าเป็นชู้รักเสมอไป ต้องมีการอธิบาย

22. จากเหตุถึงผล (from cause to effect) ไม่มีสิ่งใดสามารถเป็นอยู่หรือมีอยู่โดยไม่มีสาเหตุหรือต้นเหตุ เช่น มีควันต้องมีไฟ

23. ทางปฏิบัติ (course of action) หัวข้อนี้เหมาะสำหรับนักพูดที่พูดด้านนโยบายหรือพูดในศาล ให้ผู้แย้งลองคิดว่าทางปฏิบัติทางอื่นหรือไม่ที่ดีกว่าที่ผู้พุดได้กระทำไปแล้วหรือที่ผู้พูดกำลังเสนอ ถ้าทางเลือกที่ผู้แย้งหยิบยกขึ้นมาไม่ได้รับการเอ่ยถึงหรือปฏิบัติตาม แสดงว่าผู้พูดไม่ได้คิดจะกระทำหรือได้ปฏิบัติสิ่งนั้น เพราะจะไม่มีใครโง่พอที่จะเลือกวิธีการที่เลว แต่ให้ระวังว่า การโต้แย้งนี้อาจจะเป็นวิตรรกะ (fallacious) เพราะเราจะรู้ได้ว่าทางเลือกใดดีหรือไม่ดีก็ต่อเมื่อการกระทำสิ้นสุดลงแล้วก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นสถานการณ์มักจะไม่ค่อยชัดเจน

24. การปฏิบัติเปรียบเทียบกัน (actions compared) เอนธีมีมนี้ใช้เมื่อการกระทำที่ตั้งใจไว้เกิดตรงข้ามกับที่ตนเคยปฏิบัติ ให้นำมาเปรียบเทียบกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อประชาชนชาวเมืองอีเลียถามเซโนเฟนีสว่า พวกเขาควรจะกระทำพิธีบวงสรวงบูชายัญต่อสิวโคเธียหรือไม่ และทำพิธีศพ (ซึ่งนางเคยเป็นมนุษย์ในนามว่าอิโน) คำแนะนำของเซโนเฟนีส คือ “ถ้าพวกเจ้าคิดว่านางเป็นเทพเจ้าก็อย่าทำพิธีศพและร้องเพลงสวดศพ ถ้าพวกเจ้าคิดว่านางเป็นมนุษย์อย่าทำพิธีบวงสรวงบูชายัญ”

25. ความผิดครั้งก่อนๆ (previous mistakes) วึ่งเราใช้เป็นพื้นฐานสำหรับกล่าวหาหรือปกป้อง เช่น โจทก์กล่าวหาว่ามีเดียฆ่าบุตรของหล่อน เพราะไม่เห็นบุตรของหล่อนปรากฎอยู่ที่ใด (มีเดียทำผิดที่ส่งลูกไปที่อื่นเสีย) อย่างไรก็ตาม หล่อนแก้ตัวว่า ถ้าหล่อนจะฆ่าแล้ว คนที่หล่อนจะฆ่าคือ เจสัน เพราะถ้าหล่อนสามารถกระทำฆาตกรรมอีกครั้งหนึ่งได้ก็จะเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงที่จะไม่ฆ่าเจสัน





ในที่นี้ เบื้องต้นจะวิเคราะห์ถึง ในแง่ของผู้ฟัง

การวิเคราะห์ผู้ฟัง
ผู้ฟังเป้าหมายกลุ่มแรกของพลเอกเกรียงศักดิ์คงจะเป็นสมาชิกรัฐสภาดังเขาได้กล่าวปฏิสันถารแต่แรกสมาชิกเหล่านี้มีทั้งฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลผู้ฟังอีกกลุ่มก็คงจะได้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งรับทราบข่าวสารจากสื่อมวลชนในเวลาถัดมา จำนวนที่แน่นอนนั้นไม่สามารถประมาณได้ แต่เราสรุปได้กว้างๆว่า ผู้ฟังทั้งสองกลุ่มนี้มีความสนใจในเรื่องการเมือง การปกครองของไทย ในด้านความสัมพันธ์กับผู้พูด ความเป็นผู้นำทางบริหารประเทศอาจจะทำให้ผู้ฟังคาดหวังบางอย่างจากผู้พูด ผู้พูดอาจจะต้องแสดงบทบาทความเป็นผู้นำ มีพฤติกรรมการแสดงออกที่เป็นที่ยอมรับ วาระหรือโอกาสที่มีการพูดของพลเอกเกรียงศักดิ์ จัดได้ว่าเป็นวิกฤติ เพราะพรรคฝ่ายค้านภายใต้การนำของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กำลังจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ( ในขณะนั้น ) บทวิเคราะห์บทนี้มุ่งจะชี้ให้เห็นความพยามยามของผู้พูดในการที่จะให้ผู้ฟังยอมรับการบริหารของตน โดยชี้แจ้งเหตุผลให้น่าเชื่อถือ และชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลอยู่ภายใต้สภาวะกดดันเพียงไร
เห็นได้จาก ....

( คราวหน้าค่อยมาต่อ ภาค 2 นะคะ )